วันอาทิตย์ที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2552

กระแสผู้บริโภค


ความหมายของ การคุ้มครองผู้บริโภค

การคุ้มครอง "Protection" หมายความถึง การป้องกัน ปกป้อง ระวัง ดูแล พิทักษ์รักษา ให้อารักขา กันไว้ไม่ให้เกิดภัยอันตราย บาดเจ็บ หรือเกิดความเสียหาย
ผู้บริโภค "Consumer" หมายความถึง ผู้ที่ซื้อของมาใช้ ผู้กิน ผู้เสพ ผู้ใช้สอย ผู้นำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ การคุ้มครองผู้บริโภค " Consumer Protection" หมายความถึง การป้องกัน ปกป้อง ระวัง ดูแล พิทักษ์รักษา ให้อารักขา กันไว้ไม่ให้ ผู้ที่ซื้อของมาใช้ ผู้กิน ผู้เสพ ผู้ใช้สอย ผู้นำมาใช้ให้เกิดประโยชน์เกิดภัยอันตราย บาดเจ็บ หรือเกิดความเสียหาย
การคุ้มครองผู้บริโภค แบ่งออกเป็น
1. การคุ้มครองด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ อนามัยร่างกายและจิตใจของประชาชนทั่วไป ให้เกิดประโยชน์ ไม่ให้เกิดภัยอันตราย บาดเจ็บ หรือเกิดความเสียหายจากการบริโภคสินค้า
2. การคุ้มครองด้านสาธารณสุข ได้แก่ การใช้บริการสาธารณสุข บริการในด้านการส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การรักษาพยาบาล และการฟื้นฟูสุขภาพ

วัตถุประสงค์ของการคุ้มครองผู้บริโภค

1. ติดตามความเคลื่อนไหวของราคาสินค้าและบริการ สอดส่องพฤติกรรมของผู้ประกอบการที่จะมี
ผลกระทบต่อผู้บริโภค
2. ศึกษา วิเคราะห์ต้นทุน และพิจารณาความเหมาะสมของราคาสินค้า เพื่อป้องกันผู้ขายฉวยโอกาส
ขึ้นราคาสินค้าโดยไม่มีเหตุอันสมควร
3. กำกับดูแลให้ผู้ประกอบการทำงานตามกฎหมาย เช่น ปิดป้ายแสดงราคาจำหน่าย ห้ามกักตุน
สินค้าห้ามปฏิเสธการขาย โดยไม่มีเหตุผล เป็นต้น
4. รับเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับราคาสินค้า ปริมาณ หรือพฤติกรรมทางการค้าที่ไม่เป็นธรรม
5. ประชาสัมพันธ์ให้ข้อมูลข่าวสารแก่ผู้บริโภค เพื่อประกอบการตัดสินใจก่อนซื้อ
6. ช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อย โดยร่วมมือกับภาคเอกชน จำหน่ายสินค้าราคาถูก ตามสถานที่ต่างๆ
ตามโครงการ "ธงฟ้า – ราค ประหยัด"

สิทธิประโยชน์ของผู้บริโภค

ผู้บริโภค ไม่ได้มีไว้ซื้อของ หรือจ่ายเงินเพื่อให้บริษัททำกำไรเพียงอย่างเดียว พวกเขาควรจะรู้เคล็ดลักในการซื้อรวมถึงสิทธิประโยชน์อื่น ๆ ของเขาด้วย มิเช่นนั้น เขาจะกลายเป็น เหยื่อ ของระบบการค้าเสรี ที่เรากำลังภูมิใจสิทธิของผู้บริโภคที่จะได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย
1. มีสิทธิรับรู้ข้อมูลของสินค้าหรือบริการตามความเป็นจริงที่เพียงพอแก่การตัดสินใจ
2. มีสิทธิที่จะเลือกใช้หรือไม่ใช้สินค้าหรือบริการใด ๆ โดยไม่มีการผูกขาด
3. มีสิทธิได้รับความยุติธรรมในการทำสัญญาต่าง ๆ
4. มีสิทธิได้รับความปลอดภัยจากการใช้สินค้าหรือบริการ
5. มีสิทธิได้รับการพิจารณา และชดเชยความเสียหาย เมื่อถูกละเมิดสิทธิ

หน่วยงานของรัฐที่ดูแลเรื่องการคุ้มครองผู้บริโภค

หน่วยงานของรัฐที่ดูแลเรื่องการคุ้มครองผู้บริโภคในภาพรวมทั้งหมด คือ สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ซึ่งสังกัดอยู่ใน สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี และในส่วนภูมิภาค 75 จังหวัด ในแต่ละจังหวัดจะมีคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคจังหวัด และในทุกอำเภอจะมีคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคอำเภอ การดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคในภาพรวมของประเทศนี้มีกฎหมายที่ใช้บังคับ คือ พรบ. คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522
1. การคุ้มครองผู้บริโภคด้านบริการสาธารณสุข
หน่วยงานของรัฐที่ดูแลภาพรวมในเรื่องนี้ คือ กองการประกอบโรคศิลปะ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข และในส่วนภูมิภาค 75 จังหวัด จะมีหน่วยงานของรัฐที่ดูแลเรื่องนี้ คือ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด โดยกลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภคและเภสัชสาธารณสุข รับผิดชอบ และในระดับอำเภอ จะมีหน่วยงานของรัฐ ดูแลเรื่องนี้ คือ สำนักงานสาธารณสุข อำเภอ โดยมีกฎหมายใช้บังคับคือ พรบ. สถานพยาบาล พ.ศ. 2541
หน่วยงานขององค์กรวิชาชีพทางการแพทย์ต่างๆ ที่มีส่วนช่วย ในการคุ้มครองผู้บริโภคด้านบริการสาธารณสุข ได้แก่ แพทย์ สภา สภาเภสัชกรรม ทันตแพทยสภา สภาการพยาบาล
2. การคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ
· หน่วยงานของรัฐที่ดูแลเรื่องนี้ในภาพรวม คือ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา สังกัดกระทรวงสาธารณสุข และ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ (รวมถึงศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์) เป็นองค์กรที่รับผิดชอบหลัก ทำหน้าที่ทั้งในส่วนที่ดำเนินการเอง ประสานการดำเนินงาน และเป็นผู้กำกับดูแล รวมทั้งนิเทศงาน และประสานงานกับหน่วยงานปฏิบัติในส่วนภูมิภาคและท้องถิ่นและในส่วนภูมิภาคอีก 75 จังหวัด มีหน่วยงานของรับที่ดูแลเรื่องนี้คือ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด(มีกลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภคและเภสัชสาธารณสุข ดูแลในภาพรวมของจังหวัด) สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ สถานีอนามัยโรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไป โรงพยาบาลชุมชน

การคุ้มครองผู้บริโภคคุณภาพชีวิต

การคุ้มครองผู้บริโภค

สัญญาอสังหาริมทรัพย์และอาหาร เป็นเรื่องที่ผู้บริโภคร้องเรียนมากที่สุด

วันจันทร์ที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

การเตรียมตัวเพื่อร้องทุกข์สำหรับผู้บริโภค

การเตรียมตัวเพื่อร้องทุกข์สำหรับผู้บริโภค
พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภคพ.ศ.2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม โดยพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค(ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2541 มาตรา 4 ได้บัญญัติสิทธิของผู้บริโภคที่จะได้รับการคุ้มครอง 5 ประการ ได้แก่
- สิทธิที่จะได้รับข่าวสารรวมทั้งคำพรรณาคุณภาพที่ถูกต้องและเพียงพอเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการ
- สิทธิที่จะมีอิสระในการเลือกหาสินค้าหรือบริการ
- สิทธิที่จะได้รับความปลอดภัยจากการใช้สินค้าหรือบริการ
- สิทธิที่จะได้รับความเป็นธรรมในการทำสัญญา
- สิทธิที่จะได้รับการพิจารณาและชดเชยความเสียหาย

วันอาทิตย์ที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

ข้อควรปฏิบัติจากซื้อสินค้าและบริการ

ข้อควรปฏิบัติหลังจากซื้อสินค้าหรือบริการ
ผู้บริโภคมีหน้าที่ในการเก็บรักษาพยานหลักฐานต่าง ๆ ที่แสดงถึง การละเมิดสิทธิของผู้บริโภคไว้ เพื่อการเรียกร้องตามสิทธิของตน พยานหลักฐานดังกล่าว อาจเป็นสินค้าที่แสดงให้เห็นว่ามีปริมาณ หรือคุณภาพไม่เป็นไปตามมาตรฐาน ที่ระบุไว้ในฉลาก มีความสกปรก หรือมีพิษที่ก่อให้เกิดอันตราย ควรจำสถานที่ซื้อสินค้าหรือบริการนั้นไว้ เพื่อประกอบการ้องเรียน และต้องเก็บเอกสารโฆษณา และใบเสร็จรับเงินเอาด้วย
เมื่อมีการละเมิดสิทธิของผู้บริโภคขึ้น ผู้บริโภคมีหน้าที่ในการดำเนินการร้องเรียน ตามสิทธิของตน โดยร้องเรียนไปยัง หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการกำกับดูแลสินค้าหรือบริการนั้นหรือร้องเรียนมาที่สำนักงาน คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคต่างจังหวัดร้องเรียนที่คณะอนุกรรมการการคุ้มครองผู้บริโภคประจำจังหวัด
ข้อควรปฏิบัติสำหรับผู้บริโภคในการซื้อสินค้าหรือบริการ
ข้อควรปฏิบัติหลังจากซื้อสินค้าหรือบริการ
ผู้บริโภคมีหน้าที่ในการใช้ความระมัดระวังตามสมควร ในการซื้อสินค้าหรือบริการ ได้แก่ การให้ความสำคัญฉลากของสินค้าและการโฆษณาสินค้าหรือบริการ
1.ผู้บริโภคต้องตรวจดูฉลากของสินค้า เพื่อเป็นข้อมูลในการเปรียบเทียบสินค้าแต่ละยี่ห้อ ก่อนตัดสินใจเลือกสินค้าฉลากของสินค้าที่ควบคุมฉลากจะต้องระบุข้อความดังต่อไปนี้
- ชื่อประเภท หรือชนิดของสินค้าที่แสดงให้เข้าใจ ได้ว่าสินค้านั้นคืออะไร ในกรณีที่เป็นสินค้าสั่งหรือนำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อขายให้ระบุชื่อประเทศที่ผลิตด้วย
- ชื่อหรือเครื่องหมายการค้า ที่จดทะเบียนในประเทศไทย ของผู้ผลิตเพื่อขายในประเทศไทย
- ชื่อหรือเครื่องหมายการค้า ที่จดทะเบียนในประเทศไทย ของผู้สั่งหรือนำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อขาย
- สถานที่ตั้งของผู้ผลิตเพื่อขาย หรือของผู้สั่งหรือผู้นำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อขายแล้วแต่กรณี - ต้องแสดงขนาดหรือมิติ หรือปริมาณ หรือปริมาตร หรือน้ำหนักของสินค้านั้นแล้วแต่กรณี สำหรับหน่วยที่ใช้จะใช้ชื่อเต็มหรือชื่อย่อหรือสัญลักษณ์แทนก็ได้
- ต้องแสดงวิธีใช้ เพื่อให้ผู้บริโภคเข้าใจว่าสินค้านั้นใช้เพื่อสิ่งใด
- ข้อแนะนำในการใช้หรือห้ามใช้ เพื่อความถูกต้องในการที่ให้ประโยชน์แก่ผู้บริโภค
- วันเดือนปีที่ผลิต หรือวันเดือนปีที่หมดอายุการใช้ หรือวันเดือนปีที่ควรใช้ก่อน วันเดือนปีที่ระบุนั้น เพื่อให้เข้าใจในประโยชน์ของคุณภาพหรือคุณสมบัติของสินค้านั้น (ถ้ามี)
- ราคาโดยระบุหน่วยเป็นบาท และจะระบุเป็นเงินสกุลอื่นก็ได้
2. สอบถามข้อเท็จจริงเกี่ยวกับ คุณภาพของสินค้าจากผู้ขาย หรือผู้ที่เคยใช้สินค้านั้นแล้ว
3. ศึกษาเงื่อนไข หรือข้อจำกัดของสินค้า เช่น วัน เดือน ปี ที่ผลิตหรือหมดอายุ วิธีการใช้ การเก็บรักษา คำเตือนหรือข้อควรระวังของสินค้าให้เข้าใจอย่างท่องแท้ เพื่อผู้บริโภค สมารถใช้สินค้าได้อย่างเต็ม ประสิทธิภาพ และ ประหยัด
4. ร้องขอให้หน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องตรวจสอบคุณภาพ และปริมาณของสินค้าว่าเป็นจริง ตามที่ระบุไว้ที่ฉลากของสินค้าหรือไม่ เพื่อให้ได้สินค้าที่มีคุณภาพและเป็นธรรม แก่ผู้บริโภค
5. ผู้บริโภคอย่าด่วนหลงเชื่อคำโฆษณาของสินค้า หรือบริการ ต้องศึกษาเงื่อนไขรายละเอียดอื่น ๆ ของตัวสินค้า หรือ บริการที่อาจไม่ได้ระบุไว้ใน