วันอาทิตย์ที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2552

กระแสผู้บริโภค


ความหมายของ การคุ้มครองผู้บริโภค

การคุ้มครอง "Protection" หมายความถึง การป้องกัน ปกป้อง ระวัง ดูแล พิทักษ์รักษา ให้อารักขา กันไว้ไม่ให้เกิดภัยอันตราย บาดเจ็บ หรือเกิดความเสียหาย
ผู้บริโภค "Consumer" หมายความถึง ผู้ที่ซื้อของมาใช้ ผู้กิน ผู้เสพ ผู้ใช้สอย ผู้นำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ การคุ้มครองผู้บริโภค " Consumer Protection" หมายความถึง การป้องกัน ปกป้อง ระวัง ดูแล พิทักษ์รักษา ให้อารักขา กันไว้ไม่ให้ ผู้ที่ซื้อของมาใช้ ผู้กิน ผู้เสพ ผู้ใช้สอย ผู้นำมาใช้ให้เกิดประโยชน์เกิดภัยอันตราย บาดเจ็บ หรือเกิดความเสียหาย
การคุ้มครองผู้บริโภค แบ่งออกเป็น
1. การคุ้มครองด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ อนามัยร่างกายและจิตใจของประชาชนทั่วไป ให้เกิดประโยชน์ ไม่ให้เกิดภัยอันตราย บาดเจ็บ หรือเกิดความเสียหายจากการบริโภคสินค้า
2. การคุ้มครองด้านสาธารณสุข ได้แก่ การใช้บริการสาธารณสุข บริการในด้านการส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การรักษาพยาบาล และการฟื้นฟูสุขภาพ

วัตถุประสงค์ของการคุ้มครองผู้บริโภค

1. ติดตามความเคลื่อนไหวของราคาสินค้าและบริการ สอดส่องพฤติกรรมของผู้ประกอบการที่จะมี
ผลกระทบต่อผู้บริโภค
2. ศึกษา วิเคราะห์ต้นทุน และพิจารณาความเหมาะสมของราคาสินค้า เพื่อป้องกันผู้ขายฉวยโอกาส
ขึ้นราคาสินค้าโดยไม่มีเหตุอันสมควร
3. กำกับดูแลให้ผู้ประกอบการทำงานตามกฎหมาย เช่น ปิดป้ายแสดงราคาจำหน่าย ห้ามกักตุน
สินค้าห้ามปฏิเสธการขาย โดยไม่มีเหตุผล เป็นต้น
4. รับเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับราคาสินค้า ปริมาณ หรือพฤติกรรมทางการค้าที่ไม่เป็นธรรม
5. ประชาสัมพันธ์ให้ข้อมูลข่าวสารแก่ผู้บริโภค เพื่อประกอบการตัดสินใจก่อนซื้อ
6. ช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อย โดยร่วมมือกับภาคเอกชน จำหน่ายสินค้าราคาถูก ตามสถานที่ต่างๆ
ตามโครงการ "ธงฟ้า – ราค ประหยัด"

สิทธิประโยชน์ของผู้บริโภค

ผู้บริโภค ไม่ได้มีไว้ซื้อของ หรือจ่ายเงินเพื่อให้บริษัททำกำไรเพียงอย่างเดียว พวกเขาควรจะรู้เคล็ดลักในการซื้อรวมถึงสิทธิประโยชน์อื่น ๆ ของเขาด้วย มิเช่นนั้น เขาจะกลายเป็น เหยื่อ ของระบบการค้าเสรี ที่เรากำลังภูมิใจสิทธิของผู้บริโภคที่จะได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย
1. มีสิทธิรับรู้ข้อมูลของสินค้าหรือบริการตามความเป็นจริงที่เพียงพอแก่การตัดสินใจ
2. มีสิทธิที่จะเลือกใช้หรือไม่ใช้สินค้าหรือบริการใด ๆ โดยไม่มีการผูกขาด
3. มีสิทธิได้รับความยุติธรรมในการทำสัญญาต่าง ๆ
4. มีสิทธิได้รับความปลอดภัยจากการใช้สินค้าหรือบริการ
5. มีสิทธิได้รับการพิจารณา และชดเชยความเสียหาย เมื่อถูกละเมิดสิทธิ

หน่วยงานของรัฐที่ดูแลเรื่องการคุ้มครองผู้บริโภค

หน่วยงานของรัฐที่ดูแลเรื่องการคุ้มครองผู้บริโภคในภาพรวมทั้งหมด คือ สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ซึ่งสังกัดอยู่ใน สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี และในส่วนภูมิภาค 75 จังหวัด ในแต่ละจังหวัดจะมีคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคจังหวัด และในทุกอำเภอจะมีคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคอำเภอ การดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคในภาพรวมของประเทศนี้มีกฎหมายที่ใช้บังคับ คือ พรบ. คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522
1. การคุ้มครองผู้บริโภคด้านบริการสาธารณสุข
หน่วยงานของรัฐที่ดูแลภาพรวมในเรื่องนี้ คือ กองการประกอบโรคศิลปะ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข และในส่วนภูมิภาค 75 จังหวัด จะมีหน่วยงานของรัฐที่ดูแลเรื่องนี้ คือ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด โดยกลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภคและเภสัชสาธารณสุข รับผิดชอบ และในระดับอำเภอ จะมีหน่วยงานของรัฐ ดูแลเรื่องนี้ คือ สำนักงานสาธารณสุข อำเภอ โดยมีกฎหมายใช้บังคับคือ พรบ. สถานพยาบาล พ.ศ. 2541
หน่วยงานขององค์กรวิชาชีพทางการแพทย์ต่างๆ ที่มีส่วนช่วย ในการคุ้มครองผู้บริโภคด้านบริการสาธารณสุข ได้แก่ แพทย์ สภา สภาเภสัชกรรม ทันตแพทยสภา สภาการพยาบาล
2. การคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ
· หน่วยงานของรัฐที่ดูแลเรื่องนี้ในภาพรวม คือ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา สังกัดกระทรวงสาธารณสุข และ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ (รวมถึงศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์) เป็นองค์กรที่รับผิดชอบหลัก ทำหน้าที่ทั้งในส่วนที่ดำเนินการเอง ประสานการดำเนินงาน และเป็นผู้กำกับดูแล รวมทั้งนิเทศงาน และประสานงานกับหน่วยงานปฏิบัติในส่วนภูมิภาคและท้องถิ่นและในส่วนภูมิภาคอีก 75 จังหวัด มีหน่วยงานของรับที่ดูแลเรื่องนี้คือ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด(มีกลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภคและเภสัชสาธารณสุข ดูแลในภาพรวมของจังหวัด) สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ สถานีอนามัยโรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไป โรงพยาบาลชุมชน

การคุ้มครองผู้บริโภคคุณภาพชีวิต

การคุ้มครองผู้บริโภค

สัญญาอสังหาริมทรัพย์และอาหาร เป็นเรื่องที่ผู้บริโภคร้องเรียนมากที่สุด